วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

พระพุทธเจ้าทรงเที่ยวแสวงเพื่อความตรัสรู้



ภิกษุ ท. ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหา รสอร่อย (คือเครื่องล่อใจสัตว์)
ของโลก. เราได้พบรสอร่อยของโลกนั้นแล้ว. รสอร่อยในโลกมีประมาณเท่าใด,
เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

ภิกษุ ท. ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหา (ให้พบ) โทษ (คือความร้าย กาจ) ของโลก.
เราได้พบโทษของโลกนั้นแล้ว. โทษในโลกมีเท่าใด, เราเห็นมัน
อย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

ภิกษุ ท. ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหา อุบายเครื่องออกจากโลกของโลก.
เราได้พบอุบายเครื่องออกจากโลกนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจาก
โลกมีอยู่เท่าใด, เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น

ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้เท่ารสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย (เครื่องล่อใจสัตว์),
ไม่รู้จักโทษของโลกโดยความเป็นโทษ, ไม่รู้จักอุบาย
เครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้นแหละ
เรายังไม่รู้สึกว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก
พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
พร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล เราได้รู้ยิ่งซึ่งรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย,
รู้โทษของโลกโดยความเป็นโทษ, รู้อุบายเครื่องออกของโลก ว่าเป็นอุบายเครื่องออก
ตามที่เป็นจริง, เมื่อนั้นแหละ เรารู้สึกว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมา-
สัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.
ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้น
ของเราไม่กลับกำเริบ,

บาลี ทุติยสูตร สัมโพธิวรรค ตติยปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๓๓๓/๕๔๔, 
บาลีนี้และบาลีต่อไป ที่ทรงเล่านี่เอง แสดง ชัดเจนว่าทำไมจึงออกผนวช. คือทรงเห็นว่าถ้าไม่ออก ก็ไม่มีโอกาสแสวงสิ่งที่ทรงประสงค์จะรู้.
(พุทธประวัติจากพระโอษฐ์๗

กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม กรรมสูตร


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า
ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
ท่านทั้งหลายจงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน
จักษุ อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า
อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า
อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน
กรรมที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
นิโรธที่ถูกต้อง วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม ฯ

 ดูกรภิกษุทั้งหลายปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉนอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการคือ
สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑
สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม ฯ

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

อุปมาการฝึกช้างศึก ด้วยการฝึกตนของอริยสาวก


ภิกษุ ท.! ช้างต้นประกอบด้วยคุณ สมบัติสี่ สมควรแก่พระราชาจะใช้สอย จัดได้ว่าเป็นองคาพยพ
(ส่วนประกอบแห่งองค์) ของพระราชา. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ?
ในกรณีนี้ สี่อย่างคือ ช้างต้น เป็น ช้างรู้ฟัง รู้ประหาร รู้อดทน รู้ไป.

ภิกษุ ท.! ช้างต้น ที่รู้ฟัง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญช้างสั่งให้ทำการอันใดที่เคยทำ หรือไม่เคยทำก็ตาม, ย่อมทำในใจอย่างทั่วถึง รวบรวมจิตทั้งหมดมาเงี่ยโสตคอยสดับ. อย่างนี้แล เรียกว่าช้างต้นที่รู้
ฟัง.

ภิกษุ ท.! ช้างต้นที่รู้ประหาร เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อมประหารช้างบ้าง ผู้อยู่บนหลังช้างบ้าง ประหารม้าบ้าง ประหารผู้อยู่บนหลังม้าบ้าง ย่อมประหารรถบ้าง คนประจำรถบ้าง ย่อมประหารพลเดินเท้าบ้าง, อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ประหาร.

ภิกษุ ท.! ช้างต้นที่รู้อดทน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว อดทนต่อการ
ประหารด้วยหอก ด้วยดาบ ด้วยลูกศร อดทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลอง บัณเทาะว์ สังข์ และมโหรทึก. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้อดทน.

ภิกษุ ท.! ช้างต้น ที่รู้ไป เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญ ช้างจะส่งไปสู่ทิศใดที่เคยไป
หรือไม่เคยไปก็ตาม, ย่อมไปสู่ทิศนั้นได้โดยพลัน. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ไป.

ภิกษุ ท.! ช้างต้นประกอบด้วยคุณ สมบัติ ๔ อย่าง เหล่านี้แล สมควรแก่พระราชาจะใช้สอย จัดได้ว่าเป็น
องคาพยพของพระราชา.

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕๖-๑๕๘/๑๑๔.

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

การรู้อริยสัจรีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ


ภิกษุ ท.! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้นควรจะทำอย่างไร ?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, เพื่อจะดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่
บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะอุสสาหะ อุสโสฬหี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย)."


ภิกษุ ท.! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับเสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่;
แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่งก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬหี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง) สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้เฉพาะ.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่
เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า "ทุกข์เป็นอย่างนี้.
เหตุให้เกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้" ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๗.

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การวางจิตเมื่อถูกกล่าวหา


ภิกษุ ท. ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือ
๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล
๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง
๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมิโทสะในภายใน

ภิกษุ ท. ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า“จิตของเรา จัก
ไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูลมีจิตประกอบ และจักมีจิตสหรคตด้วย เมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุ ท. ! ถ้าโจรผู้คอยช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง ผู้ใดมีใจ
ประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าว
วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบดว้ ยเมตตาไม่มีโทสะ ในภายในอยู ่ ด้วยเมตตา ไม่มี
โทสะในภายใน อยู่ , จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิต ไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดั้งนี้.

ภิกษุ ท.! เธอพึงทำการ สำเนียกอย่างนี้ ภิกษุ ท. ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอัน
เปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนืองๆ เถิด

ภิกษุ ท! เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทางแห่งการกล่าวหาเล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้น
ไม่ได้ อยู่อีกหรือ ?
“ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า”

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้อยู่
เป็นประจำเถิด นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ ทั้งหลายตลอดกาลนาน

- มู.ม. ๑๒/๒๕๕-๒๘๐/๒๖๗-๒๗๓

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของการอยู่อย่างมีตัณหาเป็นเพื่อน


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”


มิคชาละ !
รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ
อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.
ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้;
แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่ นั่นแหละ,
นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น
เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี;
เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี :

มิคชาละ !
ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน
นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”
(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินดีด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก,
รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น,โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย,
และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
แม้จะส้องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย
มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์
เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้ว ก็ตาม
ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น.
ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ยังละไม่ได้แล้ว
เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” ดังนี้.

เพลินอยู่กับอายตนะ เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย !
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน จักษุ
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน โสตะ
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน ฆานะ
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน ชิวหา
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน กายะ
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน มนะ
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์

เรากล่าวว่า
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์ ดังนี้.


สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙.

“ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำหรับทำอะไร ?


“ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำหรับทำอะไร ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
กระจกเงามีไว้สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า !”


“ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่อง
พิจารณาดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เสียก่อน จึงทำลงไป
ทางกาย, ทางวาจา หรือ ทางใจ
ฉันเดียวกับกระจกเงานั้นเหมือนกัน.”


จูฬราหุโลวาทสูตร ม.ม. ๑๓/๑๒๓/๑๒๖.

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ความฉิบหายของผู้หลงสักการะ


ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด
หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม
อื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุ ท. ! พระเทวทัตถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว
มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ, จึงทำลายสงฆ์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อพระเทวทัตถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอา
แล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ, รากเหง้าแห่งธรรมอันเป็นกุศลของเธอจึง
ถึงความขาดสูญ.

ภิกษุ ท. ! เมื่อพระเทวทัตถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอา
แล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ, ธรรมอันเป็นตัวกุศลของเธอ จึงถึงความ
ขาดสูญ.

ภิกษุ ท. ! เมื่อพระเทวทัตถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอา
แล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ, ธรรมอันขาวสะอาดของเธอ จึงถึงความขาด
สูญ.

ลูกสุนัขดุถูกขยี้ด้วยดีสัตว์




ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย อย่านึกกระหยิ่มต่อลาภสักการะและเสียง
เยินยอ ที่เกิดแก่พระเทวทัตเลย. ตลอดเวลา ที่พระเจ้าอชาตสัตตุกุมารยังไป
บำรุงพระเทวทัตด้วยรถ ๕๐๐ คัน ทั้งเช้าทั้งเย็น, และอาหารที่นำไปมีจำนวนถึง
๕๐๐ สำรับ๑ อยู่เพียงใด ; ตลอดเวลาเพียงนั้น, พระเทวทัตหวังได้แต่ความ
เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อย่างเดียว, หวังความเจริญไม่ได้.

ภิกษุ ท. ! ใครขยี้ดีสัตว์เข้าที่จมูกของลูกสุนัขตัวดุร้าย, ลูกสุนัข
ตัวนั้นก็จะกลับดุยิ่งกว่าเดิม ด้วยการกระทำอย่างนี้. ข้อนี้ฉันใด ;

ภิกษุ ท. !
ตลอดเวลาที่พระเจ้าอชาตสัตตุกุมารยังไปบำรุงพระเทวทัต ด้วยรถ ๕๐๐ คัน
ทั้งเช้าทั้งเย็น, และอาหารที่นำไปมีจำนวนถึง ๕๐๐ สำรับ อยู่เพียงใด ; ตลอด
เวลาเพียงนั้น, พระเทวทัตหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อย่างเดียว,
หวังความเจริญไม่ได้, ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด
หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอ
ทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะ
และเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้อง
ไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้
อย่างนี้แล.

ที่มา:หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๖๔
บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๒๘๔/๕๙๓, ๕๙๔.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ สติปัฏฐาน ๔ – โพชฌงค์ ๗ – วิชชา และวิมุตติบริบูรณ์

เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้
สติปัฏฐาน ๔ – โพชฌงค์ ๗ – วิชชา
และวิมุตติบริบูรณ์


ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์;
ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒
ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรม
อันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
สติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์;
โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

พระโสดาบันเป็นใคร (นัยที่สอง)

พระโสดาบันเป็นใคร
(นัยที่สอง)


อย่ากลัวเลย มหานาม ! อย่ากลัวเลย มหานาม !
ความตายของท่านจักไม่ต่ำทราม กาลกิริยาของท่าน
จักไม่ต่ำทราม. มหานาม ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้. ธรรม ๔
ประการ อย่างไรเล่า ? ธรรม ๔ ประการคือ :-
มหานาม ! อริยสาวกในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้
โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติ
ให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครู
ผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”
ดังนี้.

(๒) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและ
ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้
ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน”
ดังนี้.

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

กอดกองไฟ



ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย เห็นกองไฟใหญ่ อันร้อนแรง ลุกโพลง
มีแสงโชติช่วง โน้นหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า !”.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่าอย่างไหน
จะดีกว่ากัน คือ การที่เข้าไปนั่งกอด นอนกอด กองไฟกองใหญ่โน้น
อันร้อนแรงลุกโพลงมีแสงโชติช่วง กับ การที่เข้าไปนั่งกอด นอนกอด
นางสาวน้อยแห่งกษัตริย์ หรือนางสาวน้อยแห่งพราหมณ์ หรือนางสาวน้อย
แ ห่งคฤหบดี ผู้ล้วนแต่มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนิ่มนวล ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การที่เข้าไปนั่งกอด นอนกอด นางสาวน้อยแห่งกษัตริย์
หรือนางสาวน้อยแห่งพราหมณ์ หรือนางสาวน้อยแห่งคฤหบดี ผู้ล้วนแต่มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนิ่มนวล

นั่นแหละดีกว่า ; เพราะว่า การที่เข้าไปนั่งกอดนอนกอดไฟกองใหญ่โน้น อันร้อนแรงลุกโพลงมี
แสงโชติช่วง นั่นเป็นความทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.


ภิกษุ ท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ :
การที่เข้าไปนั่งกอด นอนกอดไฟกองใหญ่โน้น อันร้อนแรงลุกโพลงมีแสง
โชติช่วง นั่นต่างหาก เป็นการดี สำหรับคนซึ่งเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก
ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ
ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ
พรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มี
สัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?