วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างเบา)


ภิกษุ . ! สมัยใด ราชา (ผู้ปกครอง) ทั้งหลาย
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม, สมัยนั้น ราชยุตต์ (ข้าราชการ) ทั้งหลาย
ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม; เมื่อ ราชยุตต์ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม, พราหมณ์
และคหบดีทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;

เมื่อ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม,
ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;

เมื่อ ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็มีปริวรรต (การเคลื่อนที่,
การหมุนเวียน) ไม่สม่ำเสมอ;

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักในการใช้จ่ายทรัพย์


คหบดี ! อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์ที่ตนหาได้มา  
ด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วย กำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ประการ
ประการอย่างไรเล่า ? ประการในกรณีนี้คือ :-

. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น)  
ในการเลี้ยงตน ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารตนให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงมารดาและบิดาให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหาร ท่านทั้งสองให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,  
ในการเลี้ยงบุตร  ภรรยา ทาสและกรรมกรชายหญิง ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่กันอย่างเป็นสุขโดยถูกต้อง
ในการเลี้ยงมิตร  อำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง
นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล (อายตนโส)
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย การอยู่ร่วม ๔ ประการ


คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย การอยู่ร่วม ประการนี้ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? คือ
(๑) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี 
(๒) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา 
(๓) ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี 
(๔) ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา
 
คหบดีและคหปตานีทั้งหลายก็ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี อย่างไร สามีในโลกนี้เป็น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นคน ทุศีลมีบาปธรรม มีใจ อันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษ สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยา ของเขาก็เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีใจอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน คหบดีและคหปตานีทั้งหลายชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างนี้แล


คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างไร สามีในโลกนี้เป็นผู้มัก ฆ่าสัตว์ฯลฯ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือนส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาท มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ ไม่ด่าไม่บริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน คหบดีและคหปตานี ทั้งหลายชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างนี้แล

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไรสามีในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือนคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างนี้แล

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างไร สามีในโลกนี้เป็น ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าไม่บริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯไม่ด่าไม่บริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน คหบดีและคหปตานีทั้งหลายชายเทวดา อยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างนี้แล

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิด ๆ (เวลาถูกความกลัวคุกคาม)


มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคาม
เอาแล้ว ย่อมถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตน ๆ :
นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย, นั่น
ไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด; ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้น ๆ เป็นที่พึ่งแล้ว
ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้

ส่วนผู้ใดที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้งสี่ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ
เห็นทุกข์, เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์, เห็น
ความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์, และเห็นมรรคประกอบด้วย
องค์แปดอันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบ
รำงับแห่งทุกข์ :
นั่นแหละคือที่พึ่งอันเกษม, นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด,
ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว
ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้.

ธ. ขุ. ๒๕/๔๐/๒๔.

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปฏิจจสมุปบาท คืออริยญายธรรม (สิ่งที่ควรรู้อันประเสริฐ)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี
แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว
ดังนี้ว่า
“ด้วยอาการอย่างนี้ : เมื่อสิ่งนี้มี, สิ่งนี้ย่อมมี; 
เพราะความเกิดขึ้นของสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. 
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้ย่อมไม่มี; 
เพราะความดับไปของสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป, สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้. ... ... (ต่อไปได้ตรัสปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารไปจนจบ)”.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี
แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.