วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

อุปมาการฝึกช้างศึก ด้วยการฝึกตนของอริยสาวก


ภิกษุ ท.! ช้างต้นประกอบด้วยคุณ สมบัติสี่ สมควรแก่พระราชาจะใช้สอย จัดได้ว่าเป็นองคาพยพ
(ส่วนประกอบแห่งองค์) ของพระราชา. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ?
ในกรณีนี้ สี่อย่างคือ ช้างต้น เป็น ช้างรู้ฟัง รู้ประหาร รู้อดทน รู้ไป.

ภิกษุ ท.! ช้างต้น ที่รู้ฟัง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญช้างสั่งให้ทำการอันใดที่เคยทำ หรือไม่เคยทำก็ตาม, ย่อมทำในใจอย่างทั่วถึง รวบรวมจิตทั้งหมดมาเงี่ยโสตคอยสดับ. อย่างนี้แล เรียกว่าช้างต้นที่รู้
ฟัง.

ภิกษุ ท.! ช้างต้นที่รู้ประหาร เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อมประหารช้างบ้าง ผู้อยู่บนหลังช้างบ้าง ประหารม้าบ้าง ประหารผู้อยู่บนหลังม้าบ้าง ย่อมประหารรถบ้าง คนประจำรถบ้าง ย่อมประหารพลเดินเท้าบ้าง, อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ประหาร.

ภิกษุ ท.! ช้างต้นที่รู้อดทน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว อดทนต่อการ
ประหารด้วยหอก ด้วยดาบ ด้วยลูกศร อดทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลอง บัณเทาะว์ สังข์ และมโหรทึก. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้อดทน.

ภิกษุ ท.! ช้างต้น ที่รู้ไป เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญ ช้างจะส่งไปสู่ทิศใดที่เคยไป
หรือไม่เคยไปก็ตาม, ย่อมไปสู่ทิศนั้นได้โดยพลัน. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ไป.

ภิกษุ ท.! ช้างต้นประกอบด้วยคุณ สมบัติ ๔ อย่าง เหล่านี้แล สมควรแก่พระราชาจะใช้สอย จัดได้ว่าเป็น
องคาพยพของพระราชา.

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕๖-๑๕๘/๑๑๔.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น