วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

วาจาของอสัตบุรุษ (ผู้ประพฤติชั่ว. ทั้งทางกาย,วาจา,และใจ..เป็นปกติ)

(อสัตบุรุษ....คือ....ผู้ประพฤติชั่ว..... ทั้งทางกาย....วาจา....และใจ..เป็นปกติ.)
 
ภิกษุ ท ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น "อสัตบุรุษ."
๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษในกรณีนี้ "แม้ไม่มีใคร ถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น 
ก็นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ"
ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึง ความไม่ดีของบุคคลอื่น
ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่มีทาง หลีกเลี้ยวลดหย่อน แล้วกล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่าง
เต็มที่โดยพิสดาร. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้
เป็น อสัตบุรุษ.


ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ถูก ใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่น 
ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ 
ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น
ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขว
แล้วกล่าวความดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ท. !
ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ถูก ใครถามถึงความไม่ดีของตน 
ก็ปกปิดไม่เปิดเผยให้ปรากฏ 
ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึง
ความไม่ดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขว
แล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่างไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ท. !
ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความดีของตน 
ก็นำมาโอ้อวด เปิดเผย 
จะกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดี
ของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่ลดหย่อนหลีกเลี้ยว
กล่าวความดีของตนอย่างเต็มที่โดยพิสดาร. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้
พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่าเป็นอสัตบุรุษ.

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๐๐/๗๓.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น