วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์



ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหา
เป็นมูล ๙ อย่าง.
๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?
๙ อย่าง คือ :-
เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัด ด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอก จับใจ (ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺฉริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข);
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจาก
การหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ; กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม
การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และ การพูดเท็จทั้งหลาย :
ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.


ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหา
เป็นมูล ๙ อย่าง.

นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๗. , (มหา. ที. ๑๐/๖๙/๕๙).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น