วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์



ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหา
เป็นมูล ๙ อย่าง.
๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?
๙ อย่าง คือ :-
เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัด ด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอก จับใจ (ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺฉริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข);
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจาก
การหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ; กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม
การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และ การพูดเท็จทั้งหลาย :
ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน ,จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”


มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วย
จักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มี
ลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจมีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุ
ย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูป นั้น
ไซร้ ;
แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบ มัว
เมา ซึ่งรูปนั้นอยู่ นั่นแหละ, นันทิ (ความเพลิน) ย่อม
เกิดขึ้น.
เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง)
ย่อมมี ;
เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับ
อารมณ์) ย่อมมี :